เขื่อนบางลางจังหวัดปัตตานีระบายน้ำทิ้งส่งผลให้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลาติดชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ อย่างหนักเนื่องจากพืชสวนไร่ สวนทุเรียน ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างจากน้ำท่วมสูงในรอบหลายสิบปี บางพื้นที่กล่าวได้ว่าเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 7 ปี บางพื้นที่เป็นน้ำท่วมในรอบ 10 ปีก็ว่าได้

โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลบาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เกิดภัยน้ำท่วมสูงในระดับสูง 2 เมตรและยังเกิดภาวะน้ำท่วมขังส่งผลกระทบต่อสวนพืชผลไม้ของเกษตรกรในพื้นที่เป็นวงกว้างกินพื้นที่ไม่น้อยกว่า 700 ไร่นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในรอบ7 ปีสร้างความเสียหายต่อเศษฐกิจและทิ้งหนี้สินให้กับเกษตรใว้ต่างหน้า ที่เป็นรายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่แห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นสวนยางพาราและสวนทุเรียน

นายบานียามิง อาลีมามะ กล่าวว่า ก่อนเกิดเหตุน้ำท่วม เกษตรกรไม่รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าจะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนบางลางจนกระทั่งเห็นมวลน้ำขนาดใหญ่มีความรุนแรงเอ่อเข้าในสวนเมื่อเวลา 08.00 น.ของวันที่ 6 มกราคม 2564 ซึ่งตรงกับเพจแจ้งเตือนของเขื่อนว่าจะมีการน้ำเขื่อนเมื่อเวลา 06.00 น.ของวันเดียวกัน จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆจนขึ้นสูงในระดับ 2 เมตรชาวบ้านในพื้นที่ต้องระดมกำลังช่วยเหลือกันจึงถึงยามสอง ไม่หลับไม่นอนกันเลยทีเดียว แล้วยังเกิดภาวะท่วมขังนานถึง 6 วันติดต่อกัน

นายบานียามิ กล่าวอีกว่า พอน้ำเริ่มลดลงภาพที่เห็นต้นทุเรียนปลูกมาอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี ในพื้นที่ 10ไร่ ต้องทยอยยืนตายจากไป โดยไร้ความรับชอบใดๆจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ยินการแสดงความรับผิดชอบใดๆแม้คำขอโทษสักคำ สิ่งที่ชาวบ้านเรียกร้องช่วงนี้คือเรื่องการเยียวยาที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่จ่ายตามหลักเกณฑ์ระเบียบของทางราชการที่กำหนดในวงเงินที่ไร่ละไม่เกิน1,600บาทและไม่เกิน30ไร่..เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนทำสวนทุเรียนสูงมาก กว่าจะโตได้ไม่ง่ายเลย ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี ไม่ใช่สวนยาง ยิ่งบางรายต้นที่เคยให้ผลผลิดมาแล้วต้องใช้เวลาเกือบ10ปี แล้วมานับหนึ่งใหม่ ที่สำคัญราชการพยายามอ้างเหตุจากน้ำป่าไหลลาก โทษฟ้า โทษฝนยังเดียว ทั้ง ๆที่เกิดจากการปล่อยน้ำเขื่อน

ด้านนายมูฮำหมัด หะยีสาและ กล่าวว่า น้ำท่วมในครั้งนี้สูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มาอยู่ทำสวนที่นี่และมีความเร็วน้ำไหลเชี่ยวมากแรงมากทำอะไรไม่ทันจริง ๆ มีน้ำท่วมสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ท่วมถึงหยอดมะพร้าวน้ำห้อมหลังบ้าน ส่วนบ้านชั้นล่างถูกน้ำท่วมโชคดีบ้านมีสองชั้นจึงหลบไปอาศัยกันบนชั้นสอง หลังน้ำลดต้นทุกเรียนที่ปลูกในพื้นที่ 8 ไร่ จำนวน 150 ต้น เหลือรอดสองวันแรก 30 ต้น แต่ถึงวันนี้เริ่มทยอยตายเพิ่มขึ้นเหลือเพียง 20ต้ น ไม่รู้ว่าจะตายเพิ่มอีกกี่ต้น

อย่างไรก็ตามในส่วนการเยียวยาที่รัฐบาลจะช่วยเหลือนั้น ตนเองขึ้นทะเบียนเกษตรกร มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดเนื้อที่ 8 ไร่แต่ยังไม่ได้โอนชื่อเป็นของตัวเอง จึงไม่ได้ยื่นเอกสารเพื่อรับสิทธิการเยียวยาจากรัฐ เพราะ จนท.บอกว่าได้หรือไม่ได้รับการเยียวยา50/50% จึงไม่ลงทะเบียนเมื่อไม่ได้ไปลงทะเบียนไปทำไม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *