ปลูกต้นหมาก

ค่านิยมเรื่องความงามในบ้านเราที่เปลี่ยนจากฟันดำมาสู่ฟันขาวใส ทำให้การใช้งานหมากพลูลดน้อยลงจนเหลือเพียงความจำสีจาง ถึงอย่างนั้นพืชพรรณที่เคยมีความสำคัญมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยโบราณก็ยังไม่ได้สูญหายไปไหน เพราะยังต้องมีการใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดมาแต่โบราณ ปัจจุบันยังเพิ่มเติมด้วยความต้องการจากตลาดต่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงแรงงานหนุ่มสาวชาวเมียนมาในประเทศไทยที่ยังนิยมเคี้ยวหมากกันมากมาย สวนหมากพลูจึงยังมีอนาคต แม้ไม่ถึงขั้นสร้างเงินตรามากมายจนถึงขั้นต้องไล่นับต้นเพื่อเก็บภาษีกันอย่างเมื่อหลายร้อยปีก่อน แต่ก็นับเป็นพืชน่าสนใจ มีตลาดหลายช่องทาง รวมถึงปลูกผสมผสานกับพืชชนิดอื่น ๆ ได้ ดังเช่นที่สวนของคุณพรสวัสดิ์ เข็มขาว เกษตรกรชาวสวน บ้านเตาเหล็ก ต. เมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ .ศรีสะเกษ

ปลูกต้นหมาก

คุณพรสวัสดิ์ เข็มขาว เกษตรกรชาวสวน บ้านเตาเหล็ก ต. เมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ .ศรีสะเกษ ใช้ที่ว่างในสวน มาปลูกต้นหมาก เพิ่มเติมให้มากชึ้น โดยมี คุณน้อย เข็มขาว ภรรยา ช่วยดายหญ้า หลังปลูกเสร็จแล้ว โดยในการปลูกต้นหมากของนายพรสวัสดิ์ แปลกไปจากชาวสวนคนอื่นที่ใช้ต้นพันธ์เล็กอายุ 2-3 เดือนปลูก แต่ต้นพันธุ์ของ นายพรสวัสดิ์ จะใช้วิธีเพาะกล้าในดินแทนเพาะในถุงดำ จนกระทั่งให้โต 2 ปี จึงย้ายไปปลูก จะทำให้โตเร็วและรอดตาย

ปลูกต้นหมาก

ในการปลูกก็จะขุดดินกว้างและลึก 30×30 ซม. ห่าง 3 เมตร รองด้วยปุ๋ยคอกแล้วขุดดินกลบเอาจอบอัดดินให้แน่นเอาใบไม้คลุมอุ้มน้ำไว้แล้วให้น้ำจนโชก อีก 3 ปีก็จะออกลูกตลอดทั้งปีหากมีการให้น้ำตลอด

ปลูกต้นหมาก

คุณพรสวัสดิ์ บอกว่า ตนเองปลูกหมากไว้ทั้งหมด 4 ไร่ ประมาณ 500 กว่าต้น ซึ่งปู่ ย่า ตา ยาย ได้ปลูกเอาไว้ เป็นพันุธ์ดั้งเดิม ต่อมาลูกหลานได้มีการพยายพันธุ์ปลูกเพิ่มเติมเรื่อยๆ

โดยเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน มีพ่อค้ามารับซื้อลูกหมากเล็กประมาณใหญ่เท่านี้วโป้เท้าเพื่อส่งประเทศนอก ชาวบ้านจึงมีการปลูกเกือบทั้งหมู่บ้าน ร้อยกว่าหลังคาเรือนมีปลูกเกือบทุกหลังคาเรือน

ต้นหมากโตอายุ 5 ปีก็จะออกลูกตัดขายได้ แต่ละทะลายจะมี 150 -300 ลูก หมากดิบก็จะซื้อขายลูกละ 1.50 – 2.00 บาท เฉลี่ยทะลายละ 250 บาท ส่วนหมากสุกก็จะขายถังสีละ 60 บาท มีแม่ค้ารับซื้อในหมู่บ้าน ส่วนหมากดิบก็จะมีพ่อค้ามาตระเวณรับซื้อถึงหมู่บ้าน ตั้งแต่เดือน กรกฏาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยในเดือนสิงหาคมจะมีผลผลิตออกมากที่สุด

ปลูกต้นหมาก

คุณน้อย บอกว่า เมื่อมีพ่อแม่ค้าคนกลางมาซื้อ สามีก็จะปีนต้นหมากเอามีดปลายแหลมตัดเอาลงมา ก็จะมีพ่อมาซื้อตลอดทุกวันเพื่อไปส่งตามตลาด มีรายได้ตั้งแต่วันละ 200-2,000 บาท สำหรับปีกลายมีรายได้จากการขายหมากประมาณ50,000 บาท เป็นรายได้ดีกว่าการทำนา

อย่างไรก็ตาม หมากดิบ นอกจากชาวบ้านยังคงใช้หมากสำหรับเคี้ยวแล้ว หมากคือที่มาของ”ขันหมาก”ในขบวนแห่ในพิธีแต่งงาน

ปลูกต้นหมาก

สำหรับพานขันหมาก ของฝ่ายชายที่เชิญไปบ้านฝ่ายหญิง ประกอบด้วยพลูอยู่แล้ว ในพานจะมี “หมาก 8 ผล ” ใบพลูวางเรียงเรียง ละ 8 ใบ ถุงเงิน 2 ใบถุงทอง 2 ใบข้างในบรรจุถั่วเขียว งาดำข้าวเปลือก ข้าวตอก ซองเงิน 1 ซอง นอกจากนี้ หมากพลูยังใช้ในพิธีกรรมอย่างอื่นอีกมากมาย ตลอดกระทั่งหมอพื้นบ้านแถวสุรินทร์ เคี้ยวหมากใช้คาถาอาคมเป่าพ่นหมากรักษาโรค ให้ผม มาแล้วตอนเป็นเด็กๆ

ปลูกต้นหมาก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *