ประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคใต้โดยธรรมชาติแล้ว มีความหลากหลายของพืชพรรณที่ขึ้นปะปนกันไป อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่ก็สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดฤดูที่กาล การเลียนแบบธรรมชาติในการทำไร่นาสวน“ผสมเชิงซ้อน” ปลูกพืชถาวร พืชหมุนเวียนระยะสั้น กินได้ ขายได้ สร้างรายได้ ควบคู่กับการปลูกยางรูปแบบปลูกต้นกล้าติดตาเอง ช่วยลดต้นทุนปลูก 300 ต้นลดได้ถึง 9,000 บาท แถมยังได้ยางคุณภาพ ทนทาน และมีปริมาณน้ำยางสูง

เช่นสวนของคุณ มูฮัมหมัด ขวัญดำ หมู่ 4 บ้านมาบ ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ตนใช้ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ลงทุนลงแรงปลูกยางพารา จำนวน 300 ต้น พร้อมปลูกทุเรียน จำปาดะ ส้มโอ ละมุด มะพร้าวน้ำหอม ต้นฮอกกานี ไม้เทียม และต้นหมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนี้มีมากกว่า 100 ถึง 200 ต้น

นอกนั้นเป็นจำพวกพืชผลไม้ระยะสั้น มะละกอ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยหิน กล้วยไข่ พร้อมผักสวนครัว มะเขือ ข้าวโพด ตะไคร้ ดีปลี มะเขือ ฯลฯ ทำการปลูกหมุนเวียนไว้บริโภค และจะสร้างรายได้ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นสวนผสมผสานพืชเชิงซ้อน มีทั้งพืชผลไม้ถาวร พืชผลระยะสั้น รายวันรายฤดูกาล ได้บริโภคเอง และสามารถขายได้ “เป็นการปลูก ไว้บริโภคทำมาหากินตอนเป็นผู้สูงอายุ และยามชรา ซึ่งสามารถพึงพาตนเองไปได้”

คุณมูฮัมหมัด บอกว่า เริ่มปลูกมาประมาณ 2 เดือน โดยพืชผลไม้ถาวรประมาณ 5 ปี และสูงสุด 7 ปี เช่น ยางพารา ขนุน ทุเรียน ส้มโอ ละมุด จำปาดะ หมาก จะให้ผลผลิตทั้งปีและตามฤดูกาล ต่างเป็นพืชผลที่ตลาดต้องการและมีราคาที่ดี ส่วนที่มีอยู่ก่อนแล้วทุเรียน ลองกอง มังคุด ต่างให้ผลผลิตแล้ว เช่น ทุเรียน 70 ต้น ซึ่งพ่อค้าทุเรียนหากมีการดูแลป้องกันศัตรูทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะได้ผลผลิตประมาณ 1 ตัน / ปี หากเทียบกับราคาหน้าสวนวันนี้ 100 บาท / กก.จะทำเงินได้ถึง 100,000 บาท / ปี

คุณมูฮัมหมัด ยังบอกต่อว่า การปลูกยางพารา ได้ปลูกแนวทางปลูกต้นกล้าติดตาในสวนยาง โดยไม่ได้ใช้ยางเพาะชำต้นกล้าที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป โดยการปลูกยางแนวนี้จะทำให้ยางพารามีคุณภาพและทนทาน อีกทั้งได้พันธุ์กล้างยางที่ดีให้ปริมาณน้ำยางที่สูงอีกด้วย อีกทั้งลดต้นทุนการผลิตถึงต้นละ 25-30 บาท จากจำนวน 300 ต้น เป็นเงินถึง 9,000 บาท ซึ่งหากเมื่อเทียบปลูกต้นกล้ายางชำถุง จึงลดต้นทุนมาก

ทำสวนผสมเชิงซ้อนทุกอย่างเจริญเติบโตอย่างธรรมชาติ ทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความพอดีอย่างเป็นธรรมชาติได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ หรือเกษตรกรที่สนใจ นำต้นแบบไปปฏิบัติคุณมูฮัมหมัดพร้อมถ่ายทอดหมดเปลือก
