หนอนไชเจาะรูทุเรียนจะสร้างปัญหากับชาวสวนทุเรียนเกิดขึ้นทุกปีสร้างความเสียหายวงกว้าง แต่ชาวสวน อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน จะสร้างรังมดแดงอยู่กับต้นทุเรียน โดยมดแดงจะกินไข่ที่แมลงวางไว้ช่วยรักษาผลผลิตได้อย่าวน่าทึ่ง

เรื่องราวดังกล่าว คุณมูฮัมหมัด ขวัญดำ เจ้าของสวนทุเรียนบ้านมาบ หมู่ 4 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง บอกว่า มีสวนทุเรียน จำนวน 70 ต้น อายุโดยประมาณ 20 ปี สายพันธุ์หมอนทอง ได้เก็บเกี่ยวหมดแล้วรุ่นแรก และขณะนี้ทุเรียนรุ่น 2 กำลังเติบโตใกล้เก็บเกี่ยวแต่มีปริมาณน้อย แต่กลับไม่มีตัวหนอนไชเจาะรูกัดกิน ยังเหลือกระรอก และกระแต ที่คอยกัดกิน แต่ไม่รุนแรงเหมือนกับตัวหนอน แต่ปรากฏว่าปีนี้ทุเรียนรุ่นแรกได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพประมาณ 80 กก. ส่วนทุเรียนที่เสียรูปแบบประมาณ 2 กระบะรถยนต์ จากเดิมที่ได้ประมาณ 400 กก. และ 600 กก. / ปี

“โดยเฉลี่ยราคาหน้าสวน 100 บาท / กก. ได้เงินประมาณ 8,000 บาท จากเดิมปีที่แล้วมีได้เงินประมาณ 40,000 บาท และบางปี 60,000 บาท”
คุณมูฮัมหมัด กล่าวว่า สวนทุเรียน 70 ต้น หากดำเนินการบำรุงดูแลรักษาป้องกันศัตรู เพื่อมิให้ได้รับความเสียหาย สามารถได้ผลผลิตประมาณ 1 ตัน เป็นเงินประมาณ 100,000 บาท / ปี
สาเหตุที่ทำให้ได้รับความเสียหายมาก คือตัวหนอนได้กัดไชเจาะรูเป็นเข้าสู่ทุเรียน ทำให้ลูกทุเรียนเสียรูปแบบไม่ได้คุณภาพ ไม่สามารถจำหน่ายได้ โดยทุเรียนรุ่นแรกได้รับความเสียหายใน อ.ตะโหมด ในฐานะแหล่งปลูกทุเรียนรายใหญ่ จ.พัทลุง คาดการณ์ว่ารุ่นแรก ได้ผลผลิตคุณภาพประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับทุเรียนปีนี้มีหลายรุ่น เพราะสภาพอากาศ กระทบแล้ง และฝนตกชุก

“สำหรับหนอนไชเจาะรูทุเรียนจะเกิดขึ้นทุกปีแต่มีไม่มากในปีอื่น พอมาปีนี้หนักมากกว่าทุกปี ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อมในฤดูกาลทุเรียนปีหน้า จะวางมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้นเพื่อไม่เกิดความเสียหายอีก โดยเบื้อต้นจะสร้างรังมดแดงอยู่กับต้นทุเรียน โดยมดแดงจะกินไข่ที่แมลงวางไว้”
ทางด้าน นักวิชาการชำนาญการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรกรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ปัญหาหนอนกัดไชเจาะรูทุเรียน ส่งผลให้ทุเรียนคุณภาพเสื่อม ปัญหาหนอนทุเรียนค่อนข้างจะป้องกันลำบากและจะเกิดขึ้นกับสายพันธุ์หมอนทอง
ฉะนั้นต้องออกแบบป้องกันทุกทาง เช่น สร้างถังเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ไล่แมลง ใช้แสงไฟล่อพร้อมตั้งอ่างน้ำจับแมลง สร้างรังมดแดง กำจัดไข่แมลง เป็นต้น

สำหรับทุเรียนที่ไม่ได้คุณภาพที่ถูกหนอนไชกัดเจาะรู ยังมีส่วนที่ไม่ได้รับเสียหายสามารถทำฟีดดรายนำส่งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปทุเรียน แต่ต้องมีปริมารมากขนาด 500 กก.ขึ้นไป และอีกทางเอาเนื้อทุเรียนมาทำทุเรียนทอดได้
สำหรับ จ.พัทลุง มีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 16,000 ไร่ โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ตัน / ไร่ ผลผลิต 2. ส่วนพื้นที่ปลูก จ.พัทลุง คือ อ.ตะโหมด อ.กงหรา เป็นอันดับต้น ๆ รองลงมา อ.ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต และ อ.ป่าพะยอม
“สำหรับทุเรียน จ.พัทลุงปีนี้มีถึง 5 รุ่น ซึ่งจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จทั้งหมดประมาณเดือนกันยายน”



