smart farmers

รองนายกฯ “สมคิด” ให้นโยบาย ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน เป็นหน่วยงานหลักพัฒนาภาคการเกษตร สร้างโมเดลในรูปการปล่อยสินเชื่อให้กับชุมชนสหกรณ์การเกษตรเช่าซื้อเครื่องจักรที่มีราคาสูง นำมาพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย สร้างความเข็มแข็งภาคการเกษตร

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบาย ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน เป็นหน่วยงานหลักในการเตรียมความพร้อมเรื่องเครื่องจักรการเกษตรให้กับเกษตรกร โดยอาจใช้ทั้งรูปแบบการปล่อยสินเชื่อการให้ชุมชนสหกรณ์การเกษตรเช่าซื้อหรือการที่ธนาคารจะเป็นผู้ลงทุนปัจจัยการผลิตเหล่านี้แล้วให้เกษตรกรเป็นผู้เช่า

โมเดลนี้ จะทำให้มีเครื่องจักรทางการเกษตรซึ่ง ค่อนข้างมีราคาสูงที่เกษตรกรพร้อมสำหรับการใช้งานโดยรูปแบบนี้บริษัทขนาดใหญ่ เช่น ปตท.ก็สามารถที่จะนำไปใช้ลงทุน เพื่อช่วยเกษตรกรได้เช่นกัน

การหารือกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร) ประเทศญี่ปุ่นและธนาคารโนรินจูคิน  ได้ขอให้ เจโทรเข้ามาช่วยพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทยเนื่องจากเจโทรมีเครือข่าย และดูแลบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากที่มี ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีและเครื่องมือการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรจำนวนมากและยังมีประสบการณ์ในการทำตลาดสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมทั่วโลก

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต้องหาโมเดลให้ชุมชนเกษตรกรเข้าถึงเครื่องจักรทางการเกษตรโดยง่าย ซึ่งรูปแบบ ของการให้เช่าถ้าหากกฎหมายธ.ก.ส.ทำเองไม่ได้ก็อาจใช้วิธีตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการหรือใช้วิธีเช่าซื้อเพื่อให้ชุมชนได้เครื่องจักรหรืออาจให้กองทุนหมู่บ้านมาทำการกู้เบื้องต้น วางวงเงินสินเชื่อสำหรับเครื่องจักรการเกษตร 2 หมื่นล้านบาท

การที่ ครม. เห็นชอบให้ธ.ก.ส.เพิ่มทุน 20,000 ล้านบาทเงินงวดแรกที่จะเพิ่มทุนให้ 6,000 ล้านบาท จะถึงมือธ.ก.ส.เดือนมี.ค.นี้ส่งผลให้ธ.ก.ส. ปล่อยกู้เพิ่มได้อีก 10 เท่า

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธ.ก.ส. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงการคลังให้ทำภารกิจมากขึ้นนอกจากการดูแลเกษตรกรยังให้ช่วยดูแลเศรษฐกิจฐานรากซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาเกษตรกรสมัยใหม่(smart farmers)การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสตาร์ทอัพภาคเกษตรการพัฒนาวิสาหกิจเกษตรชุมชนการช่วยเหลือให้เกษตรกรเข้าถึงเครื่องจักรการเกษตรของเกษตรกรและการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน

โดยธ.ก.ส.ได้เตรียมวงเงินสินเชื่อไว้สนับสนุนภารกิจต่างๆ 5 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01% โดยเริ่มปล่อยสินเชื่อตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมาโครงการนี้ มีระยะเวลาการปล่อยสินเชื่อ 3 ปี ซึ่ง วางเป้าหมายว่าในปี 2563 จะปล่อยกู้ได้ ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท นอกจากนั้น ยังมีวงเงินสินเชื่อที่ธ.ก.ส.ได้เตรียมไว้สำหรับการสนับสนุนเครื่องจักรการเกษตรโดยเฉพาะวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาในการชำระคืน 5 ปี

การช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตและเครื่องมือทางการเกษตรได้มากขึ้นเบื้องต้นธ.ก.ส. มีสินเชื่อให้กู้สำหรับเครื่องจักรการเกษตรวงเงิน 2 หมื่นล้านบาทซึ่งตั้งเป้าจะปล่อยสินเชื่อให้ได้ครบเต็มจำนวนใน 3 ปี ส่วนแนวคิดที่รัฐบาลจะให้ธ.ก.ส.เป็นผู้ลงทุนในเครื่องจักรการเกษตรและนำมาให้เกษตรกรเช่าซื้อหรือปล่อยเช่าธ.ก.ส.กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสม

อาจตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการหรือจัดสินเชื่อพิเศษสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ได้ซื้อเครื่องจักรการเกษตรหรืออาจให้กองทุนหมู่บ้านในตำบลเดียวกัน รวมตัวกันแล้วยื่นขอกู้เงินจากธ.ก.ส. โดยมีรัฐบาลสนับสนุนเงินจำนวนหนึ่ง 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *